×

"มัทฉะ" และ ชาเขียว คนส่วนใหญ่มักแยกชาเขียว 2 ชนิดนี้ไม่ออก โดยเข้าใจว่าทั้งมัทฉะและชาเขียวมาจากต้นชาเขียวต่างสายพันธุ์ มัทฉะคือชาเขียวญี่ปุ่น ส่วนชาเขียวคือ กรีนที ทั่วไปที่มาจากหลายแหล่งเพาะปลูก เหตุเพียงเพราะว่าชื่อ "มัทฉะ" เป็นภาษาญี่ปุ่น ส่วน "กรีนที" เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลางของโลกแค่นั้นเอง

ความแตกต่างของ "มัทฉะ" และ "ชาเขียว"

มัทฉะ มีลักษณะเป็นผงเท่านั้น เป็นพันธุ์ชาเขียวเหมือน ๆ กันนี่แหละแต่ยอดชาที่นำมาผลิตมัทฉะจะผ่านกรรมวิธีการ “แกล้งชาเขียว” ซึ่งเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกต้นชาด้วยการนำที่กรองแสงมากรองแสงให้ผ่านมาถึงต้นชาน้อยลงเหลือแค่ประมาณ 10% ของแสงธรรมชาติ ต้นชาจึงผลิตสารคลอโรฟิลล์มากขึ้นเพื่อช่วยให้สังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีกระบวนการบดใบชาที่ถูกควบคุมโดยผู้ที่ผ่านการรับรองมาแล้วว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องชา ผงชาที่ได้จะมีสีเขียวสดจนเกือบจะเป็นเขียวนีออน ลักษณะผงจะละเอียดมากจนละลายในน้ำร้อนได้เนียนสนิท มีกลิ่นและรสเฉพาะตัวที่เป็นของมัทฉะไม่เหมือนกับชาเขียวโดยทั่วไป และถือเป็นชาชั้นดี ถ้าเป็นที่ญี่ปุ่นก็เรียกได้ว่าเก็บไว้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองและผู้มาเยือนคนสำคัญกันเลยทีเดียว

ชาเขียว มีทั้งแบบเป็นใบและเป็นผง เป็นชาที่ปลูกใต้แสงแดดธรรมชาติ 100% สำหรับชาเขียวแบบผง ผงชาที่เห็นอาจจะไม่ได้มาจากใบชาอย่างเดียวแต่บดรวม ๆ กันมาจากใบหรือต้น ทั้งกระบวนการปลูกและการบดไม่ได้มีการควบคุมอะไรเป็นพิเศษ

ความแตกต่างกันของ "มัทฉะ" และ “ชาเขียว ที่ชัดเจนที่สุด คือลักษณะของขั้นตอนการตั้งใจทำให้ชาเขียวทั่วไปกลายเป็นชามัทฉะ ตั้งแต่...

1) การปลูก หัวใจสำคัญคือการปลูกในร่ม เมื่อใบชาเริ่มแตกยอดแล้วเพื่อไม่ให้ใบชากระทบแสงแดด เรียกได้ว่าเป็นการชะลอการเจริญเติบโตในช่วงนั้น ยอดใบชาที่ได้จึงมีสีเขียวเข้มมากขึ้น ให้รสชาติหวานไม่ขมอย่างที่หลายคนเข้าใจ

2) การเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวใบชาต้องคัดสรรด้วยมือเท่านั้น โดยผู้เชี่ยวชาญในการเก็บใบชาจะเลือกช่วงที่ยอดอ่อนของใบชาบานสะพรั่ง

3) การอบใบชา อบด้วยไอน้ำโดยใช้เวลาประมาณ 15 - 20 วินาที และจะพร้อมใช้งานได้ภายใน 12 - 20 ชั่วโมงหลังเก็บเกี่ยว

4) การเป่าแห้ง จากขั้นตอนการอบไอน้ำใบชาที่งองุ้มจะถูกนำมาทำ “เคียวคุโระ” (Kyokuro) และ “เซนฉะ” (Sencha) ในขณะที่ใบชาที่ไม่งองุ้มจะถูกนำมาทำ “มัทฉะ” (Matcha) โดยจะใช้เครื่องเป่าที่ใช้ลมเย็น ๆ เบา ๆ ช่วยให้น้ำระเหยและแห้งตามต้องการโดยไม่ทำให้ใบชาเสียหาย

5) การบดเป็นผง นำใบชาที่แห้งสนิทแล้วไปหมุนกลิ้งหรือบดเป็นผงด้วยครก ซึ่งในสมัยก่อนนิยมใช้ครกหิน ให้ผู้ดื่มได้รับสารอาหารในใบชาได้อย่างเต็มที่

อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นข้อแตกต่างของ “มัทฉะ” และ “ชาเขียว” คือการนำไปใช้ โดยมัทฉะ นอกจากจะใช้ชงเครื่องดื่ม ร้อน เย็น หรือปั่นได้แล้ว ยังสามารถเอาไปทำขนม หรือไอศกรีมได้อีกด้วย ในขณะที่ชาเขียว (ชาใบ) สามารถใช้ชงเครื่องดื่ม ร้อน เย็น ปั่น ได้ แต่ไม่เหมาะที่จะไปทำขนม หรือไอศกรีม นั่นเอง

 

หาซื้อได้ที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ Tesco Lotus, Central Food Hall, Home Fresh Mart, Gourmet Market เดอะมอลล์ทุกสาขา
สั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ www.liveandfit.com / Facebook : HOTTAFusionThailand