×

ช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านนี้ เทรนด์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพกลายเป็นที่นิยมกันมากขึ้นเรื่อยๆ อาจจะเป็นเพราะการระบาดของไวรัล Covid-19  ทำให้สมุนไพร กลายเป็นเครื่องดื่มที่หลาย ๆ คน เลือกมาดื่มกันมากขึ้น ไม่ใช่เพียงเฉพาะกลุ่มคนเฮลท์ตี้เท่านั้น แต่เพราะเรื่องสุขภาพเริ่มเป็นเรื่องสำคัญ ใกล้ตัว ยิ่งทำให้คนหันมาจริงจังกับการดูแลตัวเองกันมากขึ้น รวมทั้งการเลือกรับประทานอาหาร หรือ เลือกเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ในด้านการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายมากขึ้น

และถ้าหากพูดถึงสมุนไพรไทย ที่นึกถึงได้เป็นอันดับต้น ๆ ก็คงจะไม่พ้นสมุนไพรไทย ชื่อว่า “ขิง” ที่โดดเด่นในเรื่องเสริมภูมิคุ้มกัน และมีสรรพคุณอีกมากมายมหาศาล สามารถนำไปใช้ได้หลากหลาย ทั้งประกอบอาหาร เครื่องดื่ม หรือแม้แต่บรรเทาโรคร้ายต่างๆด้วย 

และหากพูดถึงสมุนไพรของประเทศญี่ปุ่น คุณจะนึกถึงสมุนไพรชนิดใด ถ้าบอกว่า สมุนไพรชื่อดังของญี่ปุ่น เป็นสมุนไพรที่เพื่อนๆทาน หรือ ดื่ม กันในทุกๆวัน อย่าง ชาเขียว หรือ มัทฉะ ล่ะ เพื่อน ๆ จะเชื่อหรือไม่?  

แค่นึกถึงรสชาติ ขิง และ ชาเขียว แล้ว หลาย ๆ คนคงไม่อยากจะเชื่อละสิว่า ชาเขียว และ ขิง เป็นสุดยอด สมุนไพร ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระเหมือนกัน วันนี้เรามาไขข้อสงสัยกันดีกว่า ว่าสมุนไพรที่ต่างกันสุดขั้วแบบนี้ จะมีประโยชน์ ที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

มาเริ่มทำความรู้จักกับ ขิง กันก่อน เนื่องจากขิง จัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายๆ ด้าน เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกายของเรา เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี เบต้าแคโรทีน ธาตุเหล็ก ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส แถมยังมี โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และ เส้นใย จำนวนมากอีกด้วย ซึ่งประโยชน์ของขิงนั้นเราสามารถนำมาใช้ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ราก เหง้า ต้น ใบ ดอก แก่น และผลก็ได้ แล้วแต่ละส่วนของขิงที่กล่าวมานั้น มีคุณสมบัติและนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง

เหง้า : รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอากาศธาตุ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ 

ต้น : รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง

ใบ : รสเผ็ดร้อน ฆ่าพยาธิ แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา แก้นิ่ว แก้ฟกช้ำ บำรุงกำเดา

ดอก : รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ

ราก : รสหวานเผ็ดร้อนขม ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ลม แก้แน่น แก้บิด แก้เสมหะ

ผล : รสหวานเผ็ด แก้ไข้ แก้คอแห้ง แก้ตาฟาง แก้เจ็บคอ บำรุงน้ำนม เป็นยาอายุวัฒนะ

แก่น : ฝนทำยาแก้คัน

นอกจากนี้ขิงมักจะถูกนำไปปรุงรสชาติอาหาร เพราะมีรสชาติเผ็ด และกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ขิงยังเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรที่ช่วยดับกระหายและยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย มีความปลอดภัยในการใช้งานสูงและมีผลข้างเคียงน้อยด้วย ส่วนประกอบหลักของขิง มีสารอาหารและสารพฤกษเคมีหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพของขิงหรือน้ำขิง ดังนี้

1. มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร
คนที่มีปัญหาจุดเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน จากสาเหตุต่าง ๆ โดยเฉพาะคนแพ้รถ การทานน้ำขิงหรือขิงสดจะช่วยลดอาการดังกล่าวลงได้ อีกทั้งยังกระตุ้นร่างกายให้ตื่นตัวอีกด้วย

2. ลดระดับน้ำตาลในเลือด
คนมีปัญหาน้ำตาลในเลือดสูง หรือผู้ป่วยเบาหวาน การทานขิงจะช่วยลดระดับของน้ำตาลให้เลือดลง ยิ่งทานเป็นประจำผู้ป่วยเบาหวานจะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์เดียวกับคนปกติได้ง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้ไม่ควรทานขิงที่มีรสชาติหวานหรือแปรรูปเป็นของหวาน

3. ลดอาการอักเสบ
ใครที่มีบาดแผลหรือช้ำตามร่างกาย ประโยชน์ของขิงจะเข้าไปลดอาการอักเสบตามกล้ามเนื้อ ข้อต่อต่าง ๆ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด อักเสบได้อย่างเห็นผล

4. เพิ่มระดับการทำงานของสมอง
มีผลวิจัยจากออสเตรเลียชี้ชัดว่า การทานขิงเป็นประจำจะเข้าไปช่วยบำรุงระบบประสาทให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์

5. แก้อาการระบบทางเดินหายใจ
เมื่อมีอาการไข้หวัด ภูมิแพ้ น้ำมูกไหล อาการหอบหืด ทานขิงที่มีความเผ็ดร้อน จะช่วยปรับอุณหภูมิในร่างกายให้สมดุล เลือดลมไหลเวียนดี หายจากอาการไข้ได้เร็วขึ้น

6. เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน 
เปรียบเสมือนเกราะป้องกันต้านโรค เพราะร่างกายเรามีระบบเสริมภูมิคุ้มกัน เซลล์เม็ดเลือดขาวที่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันเชื้อโรค ถ้าเกราะป้องกันแข็งแรง เชื้อโรคก็ยากที่จะเข้ามา แต่หากช่วงใดร่างกายอ่อนแอก็จะส่งผลไปที่ระบบภูมิคุ้มกันด้วย เป็นเหตุให้บางครั้งเกิดอาการป่วยง่ายป่วยบ่อย และเสี่ยงต่อการเป็นโรค ภูมิแพ้ ไวรัส โรคมะเร็ง โรคร้ายแรงต่าง ๆ ขิงก็จะไปป้องกัน โรคที่กำลังก่อตัวลุกลามจนเกิดเจ็บไข้ป่วยอื่น ๆ ตามมาได้

ชาเขียว มีประวัติความเป็นมาหลายร้อยปี โดยนักบวชชาวญี่ปุ่น Eichu จากวัด Bonshakuji จังหวัดไอจิ ได้เดินทางไปเป็นทูตเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ จากประเทศจีนรวมทั้งการศึกษาตัวยาสมุนไพรจากจีน เมื่อไปศึกษาที่เมืองจีนแล้วก็เอาชากลับมาถวายให้จักรพรรดิ Saga เมื่อท่านได้ดื่มชาก็เกิดความประทับใจในรสชาติ แต่ในสมัยนั้นความนิยมยังคงมีอยู่แต่ในเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น เพราะฉะนั้น ชา จากประเทศจีนจึงเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกๆ โดยพระสงฆ์นั่นเอง แต่คนญี่ปุ่นได้นำชา มาสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นให้ชัดเจนมากขึ้น เพราะคิดว่าชาดีอยู่ที่การใส่ใจในรายละเอียด เพราะความประณีตนี้ จึงเกิดเป็นวัฒนธรรมของการชงชา และพิธีชงชาจึงเป็นเสน่ห์ของประเทศญี่ปุ่น

ชาเป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมที่ได้จากส่วนของใบ ยอดอ่อน และก้านของต้นชา ที่ผ่านการแปรรูปเพื่อนำมาใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องดื่ม กลิ่นหอมที่ได้จากชาเกิดจากสารต่าง ๆ ที่อยู่ในชาที่มีคุณสมบัติเป็นน้ำมันหอมระเหย ซึ่งพืชหลายชนิดที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยเช่นนี้ สามารถนำมาตากแห้ง ใช้ชงหรือต้มกับน้ำร้อนก็เรียก ชา ได้เช่นกัน

รู้หรือไม่? ชาเขียว ทุกแบบ มาจากต้นชาชนิดเดียวกัน แต่ที่มีชื่อเรียกหลายชื่อ นั่นเป็นเพราะมีกรรมวิธีการเก็บเกี่ยว กรรมวิธีการชงชา และรสชาติที่แตกต่างกัน จึงทำให้มีการเรียกชื่อชาเขียวแตกต่างกันไป โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 แบบด้วยกันดังนี้

1. เคียวคุโระ (Kyokuro) เป็นชาคุณภาพสูง หนึ่งในชาที่มีราคาแพงที่สุดในญี่ปุ่น ผลิตจากยอดอ่อนของใบชาเท่านั้น ผ่านการเลี้ยงในร่มเพื่อรักษาสารอาหารให้ได้มากที่สุด และเก็บเป็นชาแรกของปี เนื่องจากเก็บเกี่ยวได้ปริมาณน้อย จึงทำให้ชาเคียวคุโระมีราคาแพงเน้นใช้ในงานพิธีการ มีรสชาติหวานกลมกล่อม ดื่มง่าย และฝาดน้อย ลักษณะพิเศษของชาเคียวคุโระ คือใบชาที่ม้วนตัว อย่างสวยงาม

2. เซนฉะ (Sencha) เป็นชาเขียว ที่มีคุณภาพรองจากชาเคียวคุโระ ใช้ยอดอ่อนของต้นชาที่เก็บเกี่ยวในเดือนแรก จึงได้ชื่อว่า “ชาใหม่” จะปลูกโดนแสงแดด ตลอดเวลาจนถึงช่วงเก็บเกี่ยว จากนั้นนำมา นึ่ง นวด และอบแห้งเหมือนชาเคียวคุโระ โดยมักจะมีรสหวานปนขม และมีสีเขียวเข้มมรกต กลิ่นหอมสดชื่น

3. โฮจิฉะ (Hojicha) ส่วนมากมักจะผลิตด้วยชาบันฉะ เซนฉะ และคุคิฉะ ที่ถูกเก็บเกี่ยวในช่วงสุดท้าย มาผสมรวมกันก่อนจะนำไปคั่ว ทำให้ชามีสีน้ำตาลแดง เป็นการลดระดับคาเฟอีนและความขมของชา รสชาติอ่อน และมีกลิ่นหอมหวาน เป็นชาที่ให้ความรู้สึกดื่มสบาย ๆ ระหว่างมื้อหลังอาหารเย็น หรือก่อนนอนก็ได้จึงเหมาะสำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนป่วย เพราะมีคาเฟอีนต่ำ

4. เกนไมฉะ (Genmaicha) หรือเรียกกันว่า ชาข้าวคั่ว เป็นชาเขียวที่ใช้ยอดอ่อนของต้นชาผสมกับข้าวคั่วญี่ปุ่น ทำให้ชามีสีเหลืองอ่อน รสชาติคล้ายถั่ว มีรสชาติฝาดกำลังดี หวานน้อย มีกลิ่นหอมของข้าวคั่วเป็นเอกลักษณ์ ได้ชื่อเล่นว่า ชาป๊อปคอร์น โดยชาเขียวชนิดนี้ ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากนิยมดื่มหลังอาหารเย็น เหมาะสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ

5. มัทฉะ (Matcha) ผลิตจากยอดอ่อนของต้นชา ถูกปลูกโดยไม่ได้รับแสงแดดโดยตรง โดยนำชาเทนฉะไปอบด้วยไอน้ำ แล้วอบแห้งโดยไม่นวดใบชา ก่อนนำใบชามาบดให้ละเอียดเป็นผงสำหรับชงดื่ม รสชาติดี กลิ่นหอมเฉพาะตัว ฝาดน้อย สามารถละลายกับน้ำได้ง่าย นิยมนำไปใช้ในงานพิธีชงชา และเป็นส่วนผสมในขนมและเครื่องดื่มต่างๆ มัทฉะแบ่งเป็นหลายเกรด สังเกตได้จากสีของมัทฉะ ยิ่งมัทฉะสีเข้มเท่าไหร่ คุณภาพก็ยิ่งดี และการดื่มมัทฉะ 1 ถ้วย จะได้รับสารอาหารเท่ากับดื่มชาเขียวประเภทอื่น 10-15 แก้ว เลยทีเดียว

ชาเขียวมัทฉะ (Matcha) เครื่องดื่มสีเขียว กลิ่นหอม ชาเขียวมัทฉะนับเป็นเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมทั่วโลก เนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย และหลายคนชื่นชอบเพราะไม่ว่าจะไปร้านอาหารหรือคาเฟ่ ก็สามารถพบเจอได้ ถือได้ว่าเป็นเครื่องดื่มอันดับต้น ๆ นอกจากจะเป็นสมุนไพร ที่ชงดื่มในชีวิตประจำแล้ว คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่า ชาเขียว เป็นอะไรได้มากกว่านั้น ปัจจุบันชาเขียวได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เห็นได้ง่าย ๆ คือ อะไรก็ได้ที่นิยมใส่มัทฉะไปแล้วขายได้ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาทำเครื่องดื่ม ดัดแปลงผสมกันในสูตรอาหาร ขนม เบเกอร์รี่ เบียร์หรือแม้กระทั่งผสมในเครื่องสำอาง หากใครไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นจะสังเกตเห็นว่าเกือบทุกอย่างจะต้องมีมัทฉะเป็นส่วนผสมมาด้วย จนกลายเป็นจุดเด่น Signature ของประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง 

ชาเขียวมัทฉะ มีปริมาณสารโพลิฟินอล (polyphenols) [1]  ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ อยู่ร้อยละ 30-40 โดยส่วนใหญ่เป็นสารที่เรียกว่าแคทิชิน (catechin) [2] ชาเขียวมัทฉะประกอบด้วยสารแคทิชิน 6 ชนิด ได้แก่ แคทิชิน (catechin) แกลาโอแคทีชิน (gallaocatechin) เอพิแคทีชิน (epicatechin) เอพิแกลาโอแคทีชิน (epigallocatechin) เอพิแคทีชิน แกลเลต (epicatechin gallate) และเอพิแกลาโอแคทีชิน แกลเลต (apigallocatechin gallate/ EGCG) นอกจากนี้ ชาเขียวมัทฉะยังประกอบด้วยสารแอคาลอยด์ เช่น คาเฟอีน เธโอโบรมีน และเธโอฟิลลีน

ชาเขียวมัทฉะ มีความซับซ้อนตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก คือ ต้องมีการดูแลเอาใจใส่ต้นชาเป็นอย่างดี โดยจะคลุมต้นชาด้วยตาข่ายเป็นเวลา 30 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ใบชาสร้างคลอโรฟิลล์มากขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการสังเคราะห์แสง ส่งผลให้ใบชามีสีเขียวเข้ม และเป็นการป้องกันการเปลี่ยนสารแอล-ธีอะนีน (L-Theanine) [3]  ในใบชาเป็นคาเทชินเมื่อโดนแสงแดด ทำให้ชาเขียวมัทฉะมีสารแอล-ธีอะนีนสูงกว่าชาเขียว ซึ่งส่งผลให้มีรสชาติที่ดีกว่าด้วย อีกทั้งคุณสมบัติพิเศษของสารนี้ที่ช่วยลดสภาวะความเครียดทางจิตใจ ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย เพิ่มสมาธิช่วย ลดความดันโลหิตได้ จึงควรค่าแก่การเก็บรักษา นอกจากนี้ชาเขียวมัทฉะยังมีสารสำคัญเช่นเดียวกับที่พบในชาเขียว โดยเฉพาะสารอีพิกัลโลคาเทชินกัลป์เลต ทำให้สามารถต้านอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งอุดมไปด้วยวิตามิน A, วิตามิน C และวิตามิน E ที่ช่วยชะลอวัยทำให้ดวงตาและผิวพรรณสดใส สำหรับขั้นตอนการบดเป็นผงของชาเขียวมัทฉะ ทำได้โดยนำใบชาที่แห้งจากการผ่านความร้อน มาบดทั้งใบโดยไม่มีการแยกกากออก ส่งผลให้ชาเขียวมัทฉะอุดมไปด้วยประโยชน์มากมาย ขณะเดียวกันก็ได้รสชาติขมของคลอโรฟิลล์ปนออกมาด้วย

1. มีโพลีฟีนอลสูง : สารประกอบที่เรียกว่าโพลีฟีนอล เป็นที่รู้จักกันในการปกป้องร่างกายจากโรค และมีส่วนสำคัญต่อการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและสมดุล สารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้พบได้ในผลไม้ ผัก และชาเขียวมัทฉะ มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมายซึ่งส่วนใหญ่ พบได้ในอาหาร ที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการแปรรูป จะอุดมไปด้วยสารประกอบจากพืชเหล่านี้ สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลักในชาเขียวมัทฉะ คือฟลาโวนอยด์ โดย คาเทชินและอีพิกัลโลคาเทชินแกลเลต (EGCG)มีศักยภาพมากที่สุด

2. เพิ่มการทำงานของสมอง : ชาเขียวมัทฉะ มีสารกระตุ้นตามธรรมชาติหลายชนิดรวมถึงคาเฟอีนซึ่งแม้ว่าจะไม่สูงเท่ากาแฟ แต่อาจช่วยให้ความตื่นตัวและมีสมาธินอกจากนี้ ชาเขียวมัทฉะยังเป็นแหล่งของกรดอะมิโนแอล-ธีอะนีน ซึ่งมีฤทธิ์ผ่อนคลาย โดยการเพิ่มสารเคมีในสมอง ที่ช่วยเพิ่มอารมณ์รวมถึง GABA, dopamine และ serotonin โพลีฟีนอลที่เป็นประโยชน์ของชาเขียวมัทฉะช่วยชะลอผลกระทบจากความชราในสมอง

3. เพิ่มการเผาผลาญไขมัน : ชาเขียวมัทฉะ เพิ่มอัตราการเผาผลาญและเพิ่มการเผาผลาญไขมัน เชื่อกันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติเพิ่มความร้อนตามธรรมชาติของคาเฟอีนและสารประกอบจากพืช เช่นคาเทชิน

4. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด : ชาเขียวมัทฉะช่วยเพิ่มความไวของอินซูลิน และมีผลดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

5. ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ : ชาเขียวมัทฉะเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ในการช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ และอาการที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง วิธีหนึ่งที่ช่วยได้คือผลประโยชน์ในการจัดการคอเลสเตอรอล


ขิง มีสารสำคัญคือ จินเจอร์รอล (gingerol) [4] ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งในกลุ่มฟีนอลที่มีส่วนสำคัญในการช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เนื่องจากมีงานวิจัยที่วิเคราะห์สารสำคัญในขิงว่าดีจริง จึงมีการพัฒนาขิงให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในภาวะที่ต้องการต้านอนุมูลอิสระ เพราะสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) ที่ทรงพลังของขิง ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายนั่นเอง 
 

ชาเขียวมัทฉะ มีสารสำคัญในกลุ่มคาเทชิน (Catechins) [2]  อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย ซึ่งเป็นสารที่มีส่วนช่วยลดความดันโลหิต ระดับคอเสสเตอรอลโดยรวม ระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) การอักเสบภายในร่างกาย และความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบางชนิด งานศึกษาบางชิ้นพบว่าการบริโภคชาเขียวมัทฉะอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหรือภาวะผิดปกติบางชนิด เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ภาวะหัวใจขาดเลือด (Myocardial Infarction) โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และอาจช่วยควบคุมระดับเอนไซม์ตับ ในผู้ป่วยไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์อีกด้วย

ดื่มขิงคู่กับชาเขียวมัทฉะ ได้ประโยชน์ X2

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า ชาเขียวมัทฉะและน้ำขิง มีประโยชน์ที่เหมือนและแตกต่างกันอย่างไรบ้าง และสิ่งที่เหมือนกันอีกอย่างคือ ชาเขียวมัทฉะและน้ำขิง จัดเป็นเครื่องดื่มเพื่อการดูแลสุขภาพลำดับต้น ๆ ที่หลายคนเลือกดื่มเพื่อต้อนรับวันใหม่ หรือดื่มในระหว่างวัน เพราะดื่มแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้านด้วย ถ้าจะบอกว่า เครื่องดื่มชาเขียวมัทฉะผสมขิง ดื่มแล้วดี มีประโยชน์คูณสอง ก็คงไม่เกินจริง แล้วเมื่อทานคู่กันแล้วประโยชน์ที่จะได้รับ ดังนี้

• เครื่องดื่มสมุนไพรที่หาดื่มง่าย สะดวก อร่อย 

• ประกอบด้วยวิตามินหลากหลายชนิด 

• เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

• ลดระดับ และ รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่

• ลดคอเลสเตอรอลส่วนเกิน ช่วยป้องกันหัวใจและหลอดเลือดจากโรคต่างๆ

• เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการรักษาภาวะทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด หวัด และเจ็บคอ มีฤทธิ์ระงับปวดและต้านการอักเสบ

• มีสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอกระบวนการชรา และลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง

ชาเขียวมัทฉะและน้ำขิง 2 สุดยอด สมุนไพร ช่วยต้านอนุมูลอิสระเหมือนกัน ก่อนอื่นมาเริ่มทำความรู้จักกับอนุมูลอิสระเพิ่มเติมกันก่อนว่า อนุมูลอิสระคืออะไร? แล้วทำไมต้องต้านอนุมูลอิสระ?

อนุมูลอิสระ (Free Radicals) [5] หมายถึง โมเลกุล หรืออะตอมที่ไม่เสถียรเนื่องจากการขาดอิเล็กตรอน ที่อยู่รอบนอกสุดของอะตอม อนุมูลอิสระนี้ มีช่วงอายุสั้นเพียงแค่ไม่กี่เสี้ยววินาที แต่สามารถสร้างความเสียหายต่อ DNA ด้วยการแย่งจับอิเล็กตรอนของเซลล์อื่นในร่างกาย ที่เรียกว่าภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชัน (oxidative stress) ทำให้โมเลกุลของร่างกายไม่เสถียร เกิดความเสียหาย นำไปสู่การเกิดโรคและริ้วรอยบนร่างกาย และอาจเกิดการกลายพันธุ์จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ในภายหลัง ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ มาจากทั้งปัจจัยภายนอก และภายในร่างกาย

ปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น มลภาวะทางอากาศ สภาพแวดล้อม มลพิษ ความร้อน ฝุ่น ควัน รังสีต่างๆ  สารโลหะหนัก ตะกั่ว ปรอท สารหนู อลูมิเนียม ที่สะสมในร่างกาย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ อาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง อาหารทอด หวาน มัน เค็ม ปิ้งย่าง  ความร้อน การฉายรังสี ยา สารเคมีบางชนิด, ไวรัสบางชนิด, ความเครียด ฮอร์โมนและเซลส์ต่าง ๆ ขาดการออกกำลังกาย ระบบไหลเวียนในร่างกายอ่อนแอ ฯลฯ 

ปัจจัยภายในร่างกายกาย เช่น การสร้างอนุมูลสระตามธรรมชาติ เกิดขึ้นได้จากกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การเปลี่ยนน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงาน การปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยอาหาร หรือการออกกำลังกาย เป็นต้น

ร่างกายจึงมีกลไกที่จะกำจัดสารอนุมูลอิสระได้ 2 วิธี คือ

1. การใช้เอนไซม์ที่ร่างกายสร้างขึ้นจับกับอนุมูลอิสระ โดยปกติร่างกายมีกลไกในการควบคุมสารอนุมูลอิสระอยู่แล้ว เพื่อไม่ให้สารเหล่านี้ทำร้ายเซลล์ต่าง ๆ แต่ในกรณีที่เกิดภาวะความไม่สมดุลของอนุมูลอิสระสะสมมากเกินไป เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น การสร้างสารต้านอนุมูลอิสระจะลดลง ในขณะที่อัตราการเกิดอนุมูลอิสระยังเท่าเดิม จะส่งผลให้เกิดการทำลายโครงสร้างของผนังเซลล์ ก่อให้เกิดความผิดปกติในเซลล์ ทำให้เซลล์ถูกทำลายและเสื่อมได้เร็วขึ้น ผลที่ตามมาคือ ทำให้เกิดโรคต่างๆมากมาย

2. การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหาร เช่น วิตามิน อี เบ้ตาแคโรทีน แอนโทไซยานิดิน (anthrocyanidin) สารประกอบโฟลีฟีนอลต่างๆ เช่น แทนนิน แคทซิชิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงโคเอนไซม์คิวเท็น (CoenzymeQ10) หรือโคคิวเท็น (Co Q10) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่ออื่นๆ เช่น ยูบิควิโนน (Ubiquinone) โดยจัดเป็นสารจำพวกวิตามิน หรือคล้ายวิตามิน และมีอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ที่จำเป็นตัวหนึ่งในการเริ่มปฏิกิริยาเคมีเพื่อสร้างพลังงาน ในร่างกาย จึงมีความสำคัญต่อกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องจากหัวใจต้องทำงานตลอดเวลา สำหรับบุคคลทั่วไป แม้ว่าร่างกายจะสร้างได้เอง แต่ก็จะลดลง เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนทางกับที่ร่างกายต้องการ

และอย่างที่กล่าวไปว่า ถึงแม้ร่างกายจะสร้างสารต้านอนุมูลอิสระได้เอง แต่เพื่อจะช่วยทำให้โมเลกุลที่ไม่เสถียรนี้ มีความเป็นกลาง และช่วยปกป้องร่างกายจากการเสื่อมโทรมของเซลล์เหล่านี้ ก็จำเป็นจะต้องสร้างสารต้านอนุมูลอิสระในจำนวนมากอยู่ดี ซึ่งแน่นอนว่าร่างกายอาจจะไม่มีความสามารถสร้างสารต้านอนุมูลอิสระได้อย่างเพียงพอ ต่อการรักษาสุขภาพที่ดี และเมื่อร่างกายผลิตหรือได้รับ “สารต้านอนุมูลอิสระ” ไม่เพียงพอ สารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นเหล่านี้ จะเข้าไปทำลายเซลล์ ทำให้เซลล์เกิดความเสียหาย และนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ อยู่ดี อาทิเช่น โรคกลุ่ม NCDs (โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) โรคมะเร็ง โรคหัวใจหลอดเลือด แก่ก่อนวัย ภูมิคุ้มกันลดลง ฯลฯ

เพราะฉะนั้น การลดอนุมูลอิสระในร่างกายนั้น นอกจากจะหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระแล้ว การทาน “สารต้านอนุมูลอิสระ” ก็จำเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน และจะดีแค่ไหน หากมีสมุนไพรที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถดื่มง่าย ได้ทุกวัน แถมยังมีรสชาติดี และหาง่ายตามท้องตลาดทั่วไป อย่างเช่น ชาเขียวมัทฉะและน้ำขิง

อย่างไรก็ตาม คุณประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระล้วนเป็นผลสรุปและความเห็นที่มาจากงานวิจัย โดยอาจปรากฏประสิทธิผลในด้านต่าง ๆ ที่ทดลองมาก ก็น้อย หรือไม่ปรากฏผลเลย ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละคน รวมทั้งประสิทธิภาพในแต่ละด้านอาจขึ้นอยู่กับปริมาณ และความต่อเนื่องในการรับประทานอาหารแต่ละชนิดด้วย อีกทั้งจากการศึกษาพบว่าสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารมีคุณประโยชน์มากกว่าสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้จากการบริโภคอาหารเสริม ดังนั้น ผู้บริโภคจึงควรรับประทานผักผลไม้และอาหารอย่างหลากหลายในปริมาณที่เหมาะสมเป็นประจำ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากสารโภชนาการต่าง ๆ รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระอย่างครบถ้วน และหากต้องการรับประทานอาหารเสริม ควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการตกค้างของสารเคทีต่างๆในอาหารเสริมต่างๆ ก็ลองหันเลือกดื่มสมุนไพรที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถดื่มง่าย ได้ทุกวัน แถมยังมีรสชาติดี และหาง่ายตามท้องตลาดทั่วไป อย่างเช่น  ชาเขียวมัทฉะ และ น้ำขิง ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ 

และเพื่อประหยัดเวลา แถมได้ประโยชน์แบบคูณสอง ทั้งชาเขียวมัทฉะและน้ำขิง รวมใน 1 เดียว ลองเลือกดื่ม ฮอทต้ ฟิวชั่น เครื่องดื่มผงสำเร็จรูป ชาเขียวมัทฉะผสมขิง

ข้อมูลอ้างอิง
[1] สารโพลิฟินอล (polyphenols)
[2] แคทิชิน (catechin)
[3] สารแอล-ธีอะนีน (L-Theanine)
[4] จินเจอร์รอล (gingerol)
[5] อนุมูลอิสระ (Free Radicals)